top of page

การทวนญาณ

เมื่อผู้ปฏิบัติได้ฝึกผ่านขั้นพื้นฐาน 26 วัน และการอธิษฐานแล้ว จะสามารถทบทวนการปฏิบัตินั้นได้อีก 10 วัน (รวมอธิษฐาน 2 วัน/คืน) ด้วยหลักการขั้นตอนของแต่ละวันไป เรียกว่า การทวนญาณ เพื่อให้ได้ผล/กำลังเพิ่มขึ้น

 

ลำดับญาณ 16

 

ญาณที่ 1 เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นญาณที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง รูปธรรม นามธรรม คือ มองเห็นความต่างกันของธรรมชาติ 2 อย่าง คือเห็นรูปก็เป็นลักษณะธรรมชาติอย่างหนึ่ง เห็นนามก็เป็นลักษณะธรรมชาติอย่างหนึ่ง เช่นว่า เห็นว่าการเคลื่อนไหวก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่ไม่สามารถจะรับรู้อะไรได้ ตัวมันเองไม่สามารถจะรับรู้อารมณ์ได้ เป็นเพียงแต่ธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาแล้ว ก็สลายตัวไป จัดว่าเป็นรูปธรรม ส่วนตัวที่เข้าไปรู้ เป็นธรรมชาติที่สามารถจะรับรู้อะไรได้ จัดเป็นนามธรรม เห็นความต่างกันของธรรมชาติ 2 อย่าง คือเห็นรูปก็อย่างหนึ่ง เห็นนามก็อย่างหนึ่ง อย่างนี้เรียกว่า สามารถ แยกรูปแยกนามได้ เห็นรูปเห็นนามต่างกันไม่ว่าจะเป็นทวารอื่นก็ตาม ขณะที่เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง มากระทบกาย มีสติรู้ทัน ก็เห็นว่า เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง นั้นก็เป็นแต่ธรรมชาติ ที่มากระทบ แล้วก็ สลายไป ไม่สามารถจะรับรู้อะไรได้ ส่วนตัวจิตใจเป็นตัวที่เข้าไปรู้ได้ เป็นธรรมชาติ ชนิดหนึ่ง เป็นนามธรรม หรือลมหายใจที่เข้าออก กระทบโพรงจมูก หายใจเข้าเย็น หายใจออกร้อน เป็นตัวที่ไม่สามารถจะไปรับรู้ อะไรได้ มีหน้าที่กระทบแล้วก็สลายไป เป็นรูปธรรม ส่วนตัวจิตที่เข้าไปรับรู้ลมหายใจ สามารถที่จะรับรู้ อะไรได้ ก็ไปรับรู้ลมหายใจ เป็นนามธรรม เห็นลมหายใจก็อย่างหนึ่ง เห็นตัวที่เข้าไปรู้ลมหายใจก็อย่างหนึ่ง อย่างนี้ก็เรียกว่า มีปัญญาแยกสภาวรูปนามได้ ก็จะทำให้เข้าใจว่า ในชีวิตนี้มันไม่มีอะไร ในเนื้อแท้จริงๆ แล้วมีแต่รูปกับนามเกิดขึ้นเท่านั้น ปราศจากความเป็นสัตว์เป็นบุคคล ในขณะที่จิตไปสัมผัสรูปนามนั้น ก็ไม่มีสัตว์บุคคล ตัวตนอะไรต่ออะไร เมื่อผู้ปฏิบัติทำความเพียรต่อไป เจริญสติกำหนดรูปนามยิ่งขึ้นไป ก็จะขึ้นถึงญาณที่ 2

 

ญาณที่ 2 เรียกว่า ปัจจยปริคคหญาณ คือ เห็นเหตุปัจจัยของรูปนาม คือจะเห็นว่า รูปนามนี้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน มีความเกี่ยวข้องเป็นปัจจัยกันเช่นขณะที่การก้าวไปๆ การคู้ การเหยียด การเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นไปเพราะว่ามีธรรมชาติอย่างหนึ่งเป็นตัวเหตุปัจจัย คือมีจิต จิตปรารถนาจะให้ กายเคลื่อนไหว กายก็เคลื่อนไหวไป จิตปรารถนาจะยืน กายก็ยืน จิตปรารถนาจะเดิน กายก็เดิน จิตปรารถนาจะนอน กายก็นอน คือลมก็ไปผลักดันให้กายนั้นเป็นไป อย่างนี้เรียกว่า นามเป็นปัจจัย ให้เกิด รูป นามคือจิตใจเป็นปัจจัยให้เกิดรูป รูปที่ก้าวไป รูปที่เคลื่อนไหว เกิดขึ้นมาได้เพราะว่าจิตเป็นปัจจัย ส่วนรูปบางอย่าง รูปเป็นปัจจัยให้เกิดนาม เช่นเสียง เสียงมีมากระทบประสาทหู เสียงเป็นรูป เมื่อกระทบ ประสาทหู ซึ่งเป็นรูปด้วยกัน ก็เกิดการได้ยินขึ้น เกิดการรับรู้ทางหูขึ้น ก็จะมองเห็นว่ามันเป็นเหตุปัจจัยกัน เสียงมากระทบจึงเกิดการได้ยินขึ้น เรียกว่ารูปเป็น ปัจจัย ให้เกิดนาม เย็นร้อน อ่อนแข็ง อ่อนตึง เป็นรูป มากระทบกาย ก็เกิดการรับรู้ซึ่งเป็นนามเกิดขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมมีความเพียร ดูรูปนาม เห็นความ เกิดดับ เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของรูปนามอยู่เสมอก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 3

 

ญาณที่ 3 สัมมสนญาณ ในสมมสนญาณนี้ก็เป็นญาณที่เห็นไตรลักษณ์ คือเห็นอนิจจัง ความ ไม่เที่ยงของรูปนาม เห็นทุกขัง คือความทนอยู่ใน สภาพเดิมไม่ได้ของรูปนาม เห็นอนัตตา ความบังคับบัญชา ไม่ได้ของรูปนาม แต่ว่าการเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในญาณที่ 3 นี้ ยังเอา สมมุติบัญญัติ มาปน ยังมี สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการได้ฟังมา เอาจินตามยปัญญา ความตรึกนึกคิดมาปนอยู่ด้วย ยังไม่บริสุทธิ์ในความเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ทำให้รู้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ยังมีสมมุติบัญญัติ มีปัญญาที่ได้จากการได้ฟัง จากการคิดพิจารณาขึ้นมา ก็เกิดเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติ ได้ทำความเพียร กำหนดดูรูปนามเรื่อยไปก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 4

 

ญาณที่ 4 อุทยัพพยญาณ

     1. เห็น พอง ยุบ เป็น 2 – 3 – 4 – 5 – 6 ระยะ

     2. พอง ยุบ ขาด ๆ หาย ๆ เป็นลำดับไป

     3. เวทนาต่าง ๆ หายไปรวดเร็ว คือ กำหนดเพียงครั้งสองครั้งก็หาย

     4. กำหนดได้ชัดเจนและสะดวกดี

     5. นิมิตรต่าง ๆ หายไปเร็ว กำหนดว่า เห็นหนอ ๆ สัก 2 – 3 ครั้งก็หายไป

     6. แสงสว่างแจ่มใสคล้ายไฟฟ้า

     7. ต้นพอง สุดพอง ต้นยุบ สุดยุบ ปรากฏชัดดี

     8. มีการงุบ สัปงกไปข้างหน้า ไปข้างหลัง ไปข้าง ๆ เบาบ้าง แรงบ้างแล้วแต่สมาธิ คล้าย  ๆ ง่วงนอน แต่ไม่ไช่ง่วงนอน เรียกว่าสันตติขาดพระไตรลักษณ์                      คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฏ เช่น 

          – อาการพอง ยุบ เร็วเข้า แล้วสัปงกไปอย่างนี้เรียกว่าอนิจจัง
          – อาการพองยุบ แผ่วเบา หรือสม่ำเสมอกันแล้วสัปงกไป อย่างนี้เรียกว่าอนัตตา
          – พองยุบแน่นอึดอัด หายใจฝืด ๆ แล้วสัปงกไป อย่างนี้เรียกว่าทุกขัง 

       9. ผู้ที่มีสมาธิดี จะปรากฏดับวูบลงไปบ่อย  ๆ คล้าย ๆ ตกเหว หรือตกหลุมอากาศแต่ตัวอยู่เฉย ๆ ไม่สัปงกลงไป

 

ญาณที่ 5 ภังคญาณ

       1. สุดพอง สุดยุบ ปรากฏชัดดี

       2. อารมณ์ที่กำหนดไม่ชัดแจ้ง เช่น พอง ยุบ มัว ๆ หรือ ลาง ๆ ไม่ชัดเจนแจ่มแจ้ง

       3. พอง ยุบ นั่ง ถูก หายไปเช่น เวลากำหนดว่าพองหนอ ยุบหนอ พอง ยุบ หายไป กำหนดว่านั่งหนอ ถูกหนอ นั่งถูกหายไป กำหนดรู้หนอ ๆ เป็นต้น

       4. คล้ายกับไม่ได้กำหนดอะไรเลย

       5. พอง ยุบ กับจิตผู้รู้หายไป ๆ แต่ผู้ปฏิบัติจะเห็นว่ารูปหายไปก่อน จิตหายไปที่หลัง อันที่แท้นั้นหายไปพร้อมกัน การที่เป็นเช่นนั้น เพราะจิตก่อนหายไป                       จิตหลังตามรู้

       6. พอง ยุบ ห่าง ๆ จาง ๆ ไม่ชัดเจนดี

       7. ไม่เห็นรูปร่างสันฐานท้อง มีแต่อาการตึง ๆ

       8. กำหนดไม่ค่อยได้ดี เพราะล่วงบัญญัติมีแต่อารมณ์ปรมัตถ์

       9. บางครั้งมีแต่พอง ยุบ ตัวตนหายไปคล้ายกับไม่มี่

     10. มีอาการวูบ ๆ ไปตามตัว

     11. มีการชา ๆ มึน ๆ เหมือนเอาร่างแหมาครอบ

     12. อารมณ์กับจิตหายไปพร้อมกัน

     13. ครั้งแรกรูปหายไป ใจยังรู้อยู่ ครั้นต่อมาอารมณ์ก็หายไป ใจที่รู้ก็หายไปพร้อมกัน

     14. บ้างคนพองยุบหายไปไม่นาน บางคนนานตั้ง 2 – 3 – 4  วันจนเบื่อก็มี ต้องให้เดินจงกรมมาก ๆ

     15. อุปปาทะ ฐิติ ภังคะ คือความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มีอยู่ แต่ไม่สนใจดู ไป สนใจดูเฉพาะความดับไปของรูปนามเท่าน้้น

     16. อารมณ์ภายในเช่นพอง ยุบ ไม่ชัด อารมณ์ภายนอกก็เช่นเดียวกัน ยืน นั่งก็สั่น ๆ ต้นไม้กุฏีก็ปรากฏสั่น ๆ

     17. ดูอะไร คล้าย ๆ กับดูสนามหญ้าในฤดูหมอกลง ปรากฏสลัว  ๆ  มัว ๆ   มัว ๆ ไม่ชัดเจนดี

     18. ดูท้องฟ้า อากาศก็ปรากฏเช่นกัน 

     19. พองยุบ ประเดี๋ยวหายไป ประเดี๋ยวเห็น 

 

6. ภยญาณ

       1. อารมณ์ที่กำหนดกับจิตที่รู้นั้นทันกัน ติดกันหายไปพร้อมกัน 

       2. มีความกลัวแต่ไม่ใช่กลัวผี 

       3. เห็นรูปนามหายไป สูญไปจึงน่ากลัว 

       4. รู้สึกเสียว ๆ คล้ายกับจะเป็นโรคเส้นประสาท ยึน เดิน ก็เช่นกัน 

       5. บางคนนึกถึงหมู่เพื่อน ญาติ มิตรแล้วร้องไห้

       6. บางคนกลัวมากเห็นอะไร ๆ ก็กลัว จนชั้นที่สุดเห็นตุ่มน้ำ และเสาเตียงก็กลัว 

       7. เมื่อก่อนเห็นว่า รูปนามนี้ดี แต่บัดนี้เห็นว่ารูปนามนี้ไม่มีสาระแก่นสารอะไรเลย 

       8. ไม่ยินดี  ไม่เพลิน ไม่สนุกสนาน 

       9. เป็นเพียงพิจารณาว่า รู้สึกน่ากลัว แต่ไม่ใช้กลัวจริง ๆ ก็มี 

 

7.  อาทีนวญาณ

      1.  พอง ยุบ หายไปทีละนิด ๆ ปรากฏมัว ๆ ลาง ๆ ไม่ชัดเจนดี

      2.  ไม่ดี น่าเกลียด น่าเบื่อ

      3.  รูปนามปรากฏเร็ว แต่กำหนดได้ดีอยู่

      4.  มีแต่สภาพการณ์ที่มีโทษ  คือเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์และโทษ เพราะความเกิดขึ้นแห่งรูปนาม ความสบายแห่งรูปนาม รูปนามเป็นไตรลักษณ์

      5.  กำหนดทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจ  ก็ไม่ได้ดี สู้วัน ก่อน ๆ ไม่ได้

 

8.  นิพพทาญาณ 

        1.  น่าเบื่อหน่ายขยะแขยงในอารมณ์น้้น ๆ 

        2.  รู้สึกแห้งแล้งคล้ายกับขี้เกียจ แต่ก็ยังกำหนดรู้ได้อยู่ 

        3.  ไม่เบิกบานเบื่อ ๆ เศร้า ๆ โศก ๆ ดุจพลัดพรกจากของรักชอบใจฉะนั้น 

        4.   เมื่อก่อนได้ยินเขาพูดกันว่าเบื่อ เดี๋ยวนี้รู้แล้วว่าเบื่่อจริง ๆ 

        5.  เมื่อก่อนเห็นว่าอบายภูมิเท่านั้นที่ไม่ดี ส่วนมนุษย์ สวรรค์ ยังเห็นว่าดีอยู่ แต่บันนี้รู้สึกว่านิพพานเท่านั้นดี นอกนันไม่เห็นมีอะไรดีเลย ใจน้อมเอียงไป                        สู่พระนิพพาน 

        6.  กำหนดรูปนามไม่เพลิดเพลินเลย 

        7.  ทุกสิ่งทุกอย่างรู้สึกว่าเป็นของไม่ดีทั้งนั้น และไม่เห็นว่าจะสนุกสนานที่ตรงใหน

        8.  ไม่อยากพูดกับใคร ไม่อยากพบเห็นใคร อยากอยู่ในห้องเท่านั้น

        9.  รู้สึกแห้งแล้ง คล้ายกับอยู่ในสนามหญ้ากว้าง ๆ ซึ่งมีแดดมาเผาให้หญ้าเหี่ยวแห้งฉะนั้น

       10.  บางคนเห็นว่าลาภยศที่ตนต้องการเมื่อก่อน ๆ โน้นไม่เห็นมีอะไรที่น่ายินดีเลย แล้วก็เกิดเบื่อหน่าย เห็นว่า คำว่าคนก็เกิดเสื่อมอย่างนี้ ทุกชาติ ทุกภาษาแม้เทวดาพรหมก็เป็นอย่างนี้ ที่ได้ลาภ ยศ เป็นเศรษฐี เจ้านาย คุณหญิง คุณนายก็ไม่เห็นแปลกอะไรเลย มีเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นเดียวกัน ใจไม่รู้สึกเลิดเพลิน ไม่ทะเยอทะยาน เกิดความเบื่อหน่าย เห็นว่าถ้าถึงนิพพานได้เป็นสุขแน่ ใจก็น้อมโอนเไปสู่นิพพาน

 

9.  มุญจิตุกัมยตาญาณ

        1.  คันตามตัวเหมือนมดกัด เหมือนมีตัวสัตว์ไต่ตามใบหน้า ตามร่างกาย 

        2.  ลุกลี้ลุกลนผุดสุกผุดนั่ง ยืนกำหนดไม่ได้ดี นั่งกำหนดไม่ได้ดี นอนกำหนดไม่ได้ดี เดินกำหนดไม่ได้ดี

        3.  กำหนดอริยาบทน้อยใหญ่ไม่ได้ดี

        4.  ใจคอหงุดหวิดเอือม ๆ เบื่อ ๆ

        5.  อยากออก อยากหนี  อยากหลุด อยากพ้น

        6.  บางคนคิดกลับบ้าน นึกว่าตนหมดบุญวาสนาบารมีเสียแล้ว เตรียมเก็บเสื่อเก็บหมดกลับบ้าน โบราณเรียกว่า  “ญาณม้วนเลื่อ” อย่างนี้เป็นลักษณะของปฏิจจสมุปบาท

 

10.  ปฏิสังขาญาณ

         1.  ปรากฏดุจเข็มแทง ดุจเอาไม้เล็ก ๆ มาจี้ตามร่างกาย

         2.  เวทนามีมากแต่หายเร็ว กำหนด 2 – 3 ครั้งก็หาย 

         3.  มีอาการซึม ๆ  

         4.  ตัวแข็งดุจเข้าผลสมาบัติ แต่ใจยังรู้อยู่ หูยังได้ยินเสียงอยู่

         5.  ตึง ๆ หนัก ๆ เหมือนเอาหินหรือท่อนไม้มาทับลง

         6.  รู้สึกร้อนทั่วสรรพางค์กาย

         7.  รู้สึกอืดอัดแน่น ๆ

 

11.  สังขารุเปกขาญาณ

           1.  ไม่กลัว ไม่ยินดี ใจเฉย ๆ อยู่กับรูปกับนาม คืออยู่กับพอง กับยุบ

           2.  ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีสติ สัมปชัญญะดี ไม่เผลอจากรูปนาม

           3.  จำง่าย กำหนดสะดวกสบายดี

           4.  สมาธิดี ใจสงบแน่วแน่ไปได้นาน ๆ ดุจรถยนต์วิ่งในถนนลาดยางดี ๆ รู้สึกเพลิดเพลินจนลืมเวลาไป

           5.  ยิ่งนานยิ่งละเอียดประณีต ดุจคนร่อนแป้ง ยิ่งร่อนมากก็ยิ่งละเอียด

           6.  ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่รำคาญใจ รูป เสียง กลิ่น รส ไม่ปรากฏมารบกวนเล

           7.  โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เช่น โรคอัมพาต โรคเส้นประสาท เป็นต้น อาจหายไปเลย แม้โรคหืด โรคกะเพาะ โรคความดันโลหิตสูงก็หายได้                                            โรคลมบ้าหมูก็หายได้

           สรุปความว่า ญาณนี้รู้สึกเฉย ๆ นั่งกำหนดได้ดีเพลิดเพลินลืมเวลาไป เช่นกำหนดไว้ว่าจะนั่งราว 30 นาที อาจจะเลยไปจนถึง 1 ชั่วโมงก็ได้

 

12.อนุโลมญาณ

           อนุโลมญาณ  แปลว่ามีความรู้ดำเนินไปตามลำดับ ๆ ดังนี้

             1.  อนุโลมตามญาณต่ำ เริ่มปรากฏตั้งแต่ญาณที่ 4 ถึงญาณที่ 12           

             2.  อนุโลมตามญาณสูง คือ อนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ มี สติปัฏฐาน 4 สัมมับปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 เป็นต้น

อนุโลมญาณนั้น มีลักษะที่จะพึงรู้อยู่ 3 ประการ คือ    

              1.   อนิจจัง ผู้ที่เคยให้ทาน รักษาศีลมา จะผ่านทางอนิจจัง โดยมีอาการพอง ยุบ เร็วเข้า ๆ แล้วก็ดับวูบลงไป ผู้นั้นก็ทราบอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งว่าดับลงไปตอนพอง หรือตอนยุบ ตอนนั่ง หรือตอนถูก อาการที่พอง ยุบเร็วเข้า ๆ นั้น เป็น อนิจจัง การที่ทราบอย่างแจ่มแจ้งว่าดับลงไปตอนไหนนั้น เป็นอนุโลมญาณ แต่มิใช่นึกเดาหรือคาดคะเนเอาเอง ต้องรู้จริงเห็นจริงในขณะปัจจุบันเท่านั้น

              2.  ทุกขัง ผู้ที่เคยได้เจริญสมถกรรมฐานก่อนจะผ่นทางทุกขังคือเวลากำหนดพองยุบ หรือนั่ง ถูก นั้น จะรู้สึกว่าแน่นอึดอัด เมื่อกำหนดไป ๆ ก็จะดับวูบลงไปตอนพอง ยุบหรือตอนนั้น

              3.  อนัตตา ผู้ที่ได้เคยเจริญวิปัสสนามาก่อน หรือได้สนใจใคร่ต่อวิปัสสนามาแต่ปุเรกชาติจะผ่านทางอัตตา คือ พอง ยุบ มีอาการสม่ำเสมอบ้าง มีอาการแผ่วเบาบ้างแล้วก็ดับวูลงไป ผู้ปฏิบัติก็ทราบชัดว่า ดับลงไปตอนไหน ตอนพอง หรือตอนยุบ ตอนนั่ง หรือ ตอนถูก

                 อาการที่ท้องพอง ยุบ ปรากฏสม่ำเสมอ หรือแผ่วเบา นั้นเป็นอนัตตา

                 การที่ผู้ปฏิบัติสามารถทราบได้ชัดเจนว่า ดับลงไปตอนไหนแน่ คือดับลงไปตอนพอง หรือตอนยุบ ตอนนั่ง หรือตอนถูก นั่นเป็น อนุโลมญาณ 

 

อริยสัจจ์ 4

          ในญาณนี้อริยสัจจ์ 4 ย่อมปรากฏชัดเจนแจ่มแจ้งดี เป็นดังนี้คือ

          อาการที่ท้องเริ่มพอง เริ่มยุบ ในเวลาจะเข้าสู่โคตรภูญาณนั้น เรียกว่า รูปชาตินามชาติ คือ ความเกิดขึ้นของรูปนาม ได้แก่รูปพอง รูปยุบนั้นเอง ความเกิดขึ้นของพองของยุบ เป็น สมุทัยสัจ มีบาลีรับรองว่า

          “ชาติสมุทยสจฺจํ” ชาติ คือความเกิดขึ้นของรูปนาม เป็น สมุทัยสัจ ดังบาลีว่า “ชรามรณํ” ชรา คือความเสื่อมไปของรูปนาม มราณะ คือความตายของรูปนาม เป็น ทุกขสัจ

          นิโรธสัจ ได้แก่อาการพอง ยุบ เป็นต้น นั้น ดับลงไปพร้อมกัน ได้แก่นิพพานนั่นเอง ดังบาลีว่า “ชรามรณํ ทฺุขสจฺจํ” ชรา คือความเสื่อมไปของรูปนาม มรณะ คือความตายของรูปนามเป็นทุกขสัจ

          มัคคสัจ ได้แก่ ปัญญาที่เห็นพอง ยุบ เป็นต้น ตั้งแต่เริ่มแรกจนกระทั้งดับบงไปสิ้นไป หมดไป เป็น มัคคสัจ ดังบาลีว่า “นิโรธปฺปชานนามคฺคสจฺจํ” ปัญญาที่ราบชัดซึ่งทุกข์ สมุทั้ยว่า ดับลงไปเป็น นิโรธสัจ

          มัคคสัจ ได้แก่ ปัญญาที่เห็นพอง ยุบ เป็นต้น ตั้งแต่เริ่มแรกจนกระทั้งดับลงไปสิ้นไป หมดไป เป็น มัคคสัจ ดังบาลีว่า “นิโรธปฺปชานนามคฺคสจฺจํ” ปัญญาที่ทราบชัดซึ่งทุกข์ สมุทัยว่า ดับลงไปตอนไหน เป็น มัคคสัจ

 

13  โครตภูญาณ

           โครตภูญาณ  คือ ญาณที่ตัดขาดจากโคตรของปุถุชน ได้แก่รูปนามพร้อมทั้งจิตที่รู้ดับลงไป สงบไป เงียบไป คือถึงพระนิพพานนั่นเอง หน่ยงเอาพระนิพพานมาเป็นอารมณ์ตรงที่เริ่มขาดความรู้สึกนั่นแหละ โครภูญาณ ดังบาลีว่า

           1.  อุปฺปาทํ อภิภุยฺยตีติ โครฺรภู ปัญญาที่ครอบงำความเกิด เรียกว่า โคตรภู

           2.  ปวตฺตํ อภิภุยฺยตีติ โครฺรภู ปัญญาที่ครอบงำความเป็นไปของรูปนามเียกว่า โคตรภู 

           3.  พหิทฺธาสงฺขารนิมิตฺตํ อภิภุยฺยตีติโคตรภู  ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่เป็นไป คือความดับสนิท ได้แก่พระนิพพาน ชื่อว่าโคตรภู

สรุปความว่า ตรงที่ขาดความรู้สึกครั่งแรกนั่นแหละเป็น โคตรภูญาณ อยู่ในระหว่างโลกียะกับโลกุตตระต่อกัน 

 

14.  มคมญาณ

          หลังจากขาดความรู้สึกลงไปแล้ว  ทรงอยู่ 1 ขณะ ตรงนี้เป็นมรรค  ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทประหาร คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสขาดเด็ดลงไปตรงญาณนี้ ญาณนี้มีนิพพานเป็นอารมณ์ถึงพระนิพพานที่ตรงญาณนี้ ญาณนี้เป็น โลกุตตระ

 

15. ผลญาณ

เป็นผลของมรรค  คือหลังจากความตั้งมั่น 1 ขณะของมรรคไปแล้ว ผลจิตมีนิพพานเป็นอารมณ์เกิดขึ้น 2 – 3 ขณะจิต ญาณนี้เป็น โลกุตตระ

 

16.  ปัจจเวกขณญาณ

      ปัจจเวกขณญาณ ได้แก่การพิจารณากิเลสที่ละที่เหลืออยู่ มีอยู่ 5 ประการ คือ        

       1.  พิจารณามรรคว่า เรามาแล้วโดยมรรคนี้

       2.  พิจารณาผลว่า อานิสงส์นี้เราได้แล้ว

       3.  พิจารณากิเลสที่ละแล้วว่า กิเลสเหล่านี้เราละได้แล้ว

       4.  พิจารณากิเลสที่เหลืออยู่ว่า กิเลสเหล่านี้ของเรายังเหลืออยู่

       5.  พิจารณานิพพานว่า ธรรมวิเศษนี้ เราแทงตลอดแล้วโดยมีนิพพานเป็นอารมณ์

 

สรุปความว่า

     การที่ผู้ปฏิบัติกำหนดพองยุบอยู่นั้น เวลาจะเข้าสู่มรรค ผล นิพพาน มีอาการเป็น 3 อย่าง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังที่แสดงมาแล้วนั้น ส่วนปัจจเวกขณะนี้ได้แก่อการที่กำหนดไป ๆ เมื่อดับวูบลงไปแล้ว ขาดความรู้สึกไปหมดสิ้น ครั้นรู้สึกตัวขึ้นมาจะพิจารณาว่า เอ๊ะนี้เราเป็นอะไรไป แล้วรีบกำหนดพอง ยุบ ต่อไปอีก พอง ยุบจะรู้สึกว่าปรากฏชัดเจนกว่าปกติ การพิจารณาว่าเอ๊ะนี้เราเป็นอะไรไป เป็นปัจจเวกขณญาณ

ผลสมาบัติ  คือการเข้าไปชมผลของมรรคที่ตนได้ผ่านมาแล้วนั้น อธิษฐานให้จิตดับสงบเงียบโดยไม่รู้สึกตัวเลยประมาณ 5 นาที่ จนถึง 24  ชั่วโมง หรือ 7 วัน 7 คืนก็ได้ แล้วแต่กำลังแห่งสมาธิ ถ้าสมาธิดีก็อยู่ได้นาน

สรุปความว่า  

      อาการที่พองยุบปรากฏเร็ว เป็น  อนิจจัง  พองยุบปรากฏแน่น ๆ อืดอัดใจ  เป็นทุกขัง  พองยุบแผ่วเบา หรือสม่ำเสมอ เป็น อนัตตา

      รู้ว่าดับไปตอนพอง หรือตอนยุบ ตอนนั่ง หรือตอนถูก เป็นอนุโลมญาณ

      การขาดความรู้สึกครั้งแรก เป็นโคตรภูญาณ

      หลังจากขาดความรู้สึกนั้นไปทรงอยู่ 1 ขณะเป็นผลญาณ

      พอรู้สึกตัวขึ้นมา พิจารณาว่า เอ๊ะเราเป็นอะไรไป ง่วงนอนหรืออย่างไร เป็นปัจจเวกขณญาณ

 

เวกขณญาณ

       เมื่อว่าโดยสภาวะแล้ว  คือ  เวลากำหนดพองยุบ อยู่นั้น จะมีอาการไว หรือแผ่วเบาหรืออึดอัดแล้วก็ดับวูบลงไป ประมาณ 2 – 3 วินาทีเท่านั้น ดีดนิ้วมือยังช้ากว่า

       ญาณที่ 12 – 13 – 14 – 15 – 16 เกิดติดต่อกันเลยไม่มีอะไรคั่นในระหว่าง ผู้ปฏิบัติจะรู้เพียงณาณ ที่ 12 กับ 16 เท่านั้น คือจะรู้ว่า ขณะดับนั้น ดับไปตอนพองหรือตอนยุบซึ่งเป็นญาณที่ 12 ญาณที่ 13 – 14 – 15 จะไม่รู้สึกเลย เพราะดับเงียบไปหมดแล้วพอรู้ตัวขึ้นมาพิจารณาว่า เอ๊ะเราเป็นอะไรไปก็เป็นญาณที่ 16 

bottom of page