สำนักวิปัสสนาปฏิบัติบูชาพระพุทธบาท ๔ รอย
สาขาวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล) จังหวัดเชียงใหม่
Vipassana Meditation Centre of Phra Buddhabat Siroi in Chiangmai Thailand
°•♤°"พระพุทธบาทสี่รอย°•♤°
(ตอนที่ ๑)
-
นับตั้งแต่มีธาตุมีธรรมบังเกิดขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นในกาลอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตอันมิอาจจะกำหนดขอบเขตที่สิ้นสุดได้ก็ตามที
-
ยอดแห่งเอกอัครมหาบุรุษเพียงหนึ่งเดียว ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมและคุณสมบัติอันเลอเลิศประเสริฐอย่างถึงที่สุด ด้วยลักษณาการทั้งปวง ชนิดที่บรรลุถึงขีดขั้นหาที่ติมิได้ หาที่เปรียบมิได้
-
และหาที่เสมอสองมิได้เท่าที่ประวัติศาสตร์แห่งมวลหมู่มนุษยชาติจะพึงได้พบได้เห็นหรือได้รู้จัก แม้เพียงยลยินเพียงด้วยชื่ออย่างแท้จริงนั้น ย่อมไม่อาจจะที่จะเป็นใดอื่นไปได้อีกแล้ว
-
นอกจากพระบรมศาสดาแห่งบวรพระพุทธศาสนา ผู้มีพระนามอันบังเกิดแต่พระคุณแห่งพระองค์เองทั้งสิ้นว่า “สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า” เป็นแน่นอน....
-
องค์สมเด็จพระบรมศาสดา ผู้ทรงพระสวัสดิโสภาคย์ทั้งหลายนั้น ทรงเป็นจอมอรหันต์ผู้อนุตรบุคคล คือทรงเป็นบุคคลเอก เป็นหนึ่งไม่มีสอง หาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้
-
เพราะทรงกอรปไปด้วยคุณาธิคุณอันยอดยิ่งกว่าผู้ทรงคุณอื่นๆทั่วไป ด้วยต้องทรงสร้างสมอบรมอธิการบารมีทั้ง 30 ทัศมาอย่างเหลือล้น จนสุดที่จะนับจะประมาณได้
-
อย่างน้อยที่สุด ก็ต้องยาวนานถึง 20 อสงไขย 100,000 มหากัป สำหรับ “พระปัญญาธิกะพุทธเจ้า”(พระพุทธเจ้าผู้ยิ่งด้วยปัญญา) ส่วน “พระสัทธาธิกะพุทธเจ้า”(พระพุทธเจ้าผู้ยิ่งด้วยศรัทธา) หรือ “พระวิริยาธิกะพุทธเจ้า” (พระพุทธเจ้าผู้ยิ่งด้วยวิริยะความพากเพียร) ก็ยิ่งต้องใช้เวลาสร้างพระบารมีเป็นทบเท่าทวีคูณ ถึง 40 และ 80 อสงไขย กำไร 100,000 มหากัปตามลำดับ
-
จึงจักสามารถตรัสรู้พระปรมาภิเษก สำเร็จยังพระสร้อยศรีสรรเพชญ์พุทธรัตนอนาวรญาณเป็นองค์สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นครูของทั้งมนุษย์และเทวดาทั้งปวงอย่างสมบูรณ์แบบและสมภาคภูมิอย่างแท้จริงได้
-
เพราะด้วยเหตุที่การอุบัติบังเกิดขึ้นของที่สุดแห่งอัจฉริยบุคคลอันดับหนึ่งเฉกเช่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ย่อมจะเป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่ง
-
ด้วยเหตุแห่งเงื่อนไข,จิตใจ,ข้อจำกัดและระยะแห่งกาลที่ยาวนานจนเหลือที่จะนับได้ดังกล่าว จึงมีสรรพชีวิตเพียงไม่กี่ดวงเท่านั้นที่จักสามารถอดทน อดกลั้น ฟันฝ่าต่ออุปสรรค ความยากลำบาก และมหันตทุกข์ในสังสารวัฏต่างๆ
-
สร้างสมไตรทศบารมีทั้ง 30 ประการจนตลอดรอดฝั่ง ถึงขั้นสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ ดังปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ว่า ในตลอดระยะเวลา 4 อสงไขย 100,000 มหากัป ที่ผ่านพ้นมา ได้มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ในโลกเพียง “28” พระองค์เท่านั้น
-
โดยบางกัป ก็มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้เพียงพระองค์เดียว บางกัปก็มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้เพียง 2 หรือ 3 หรือ 4 พระองค์
-
และบางพุทธันดร(ช่วงเวลาจากพุทธสมัยของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งถึงพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง)บางคราว ก็ยืดยาวนานถึง 70,000 กัป ถึง อสงไขยกัปก็มี
-
ซึ่งการดังกล่าวย่อมเป็นการยืนยันถึงพระพุทธพจน์หนึ่งให้เป็นที่แจ้งใจทั่วไปเป็นอย่างดีที่สุดว่า “กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท” หรือ “การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาได้ยากยิ่ง” โดยแท้ฯ
-
และด้วยเหตุที่การอุบัติบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาได้ยากยิ่งเยี่ยงนี้นี่เอง ตลอดระยะเวลา 4 อสงไขย 100,000 มหากัปที่ผ่านมา
-
ตลอดไปจนถึงพระพุทธเจ้าอีก 10 พระองค์ ที่จะมาตรัสรู้ในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์ “อนาคตวงศ์”ก็ตาม
-
สรรพชีวิตและโลกทั้งสิ้น ก็ยังไม่เคยที่จะมีบุญวาสนาสูงสุดที่จะได้ประสพพบกับช่วงเวลาอันประเสริฐสุด ที่เรียกว่า “มหาภัทรกัป”
-
คือกัปอันเจริญ ที่ประดับด้วยการอุบัติบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้ามากถึง 5 พระองค์ในกัปๆ เดียวอย่างที่เราท่านทั้งหลายกำลังดำรงอยู่ในขณะปัจจุบัน ณ.บัดเดี๋ยวนี้เลยจริงๆ
°•♤°"พระพุทธบาทสี่รอย°•♤°
(ตอนที่ ๒)
-
เอโก พุทฺโธ สารกปฺเป
-
มณฺฑกปฺเป ชินา ทุเว
-
วรกปฺเป ตโย พุทฺธา
-
สารมณฺเฑ จตุโร พุทฺธา
-
ปญฺจ พุทฺธา ภทฺทกปฺเป
-
ตโต นตฺถาธิกา ชินา
-
ในสารกัป มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์
-
ในมัณฑกัป มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์
-
ในวรกัป มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์
-
ในสารมัณฑกัป มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์
-
ในภัทรกัป มีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์
-
พระพุทธเจ้ามากกว่านี้ ไม่มี
-
ก็หลักฐานหรือพยานทางวัตถุเพียงหนึ่งเดียว ที่เป็นเครื่องแสดงและยืนยันถึงการเสด็จขึ้นมาแล้วแห่งพระพุทธเจ้าถึง 4-5 พระองค์ ของช่วงเวลาแห่ง “มหาภัทรกัป”ที่ชัดเจนและชัดแจ้งที่สุด เท่าที่โลกทั้งสิ้นอาจสามารถพึงพบพึงเห็นและเข้าพิสูจน์ได้ด้วยตาด้วยใจแห่งตนอย่างสิ้นสงสัยสิ้นเชิงนั้น
-
โดยแท้แล้วก็คือ “พระพุทธบาทสี่รอย” อันเป็นรอยพระพุทธบาทแห่งองค์สมเด็จพระโลกนาถ สัมมาสัมพุทธเจ้าถึง 4 พระองค์ ซึ่งปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระพุทธบาทสี่รอย ต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่นี่เอง....
-
สำหรับพระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้ นับเป็นมหาปูชนียสถานพิเศษที่ทรงไว้ซึ่งความสำคัญและความศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งยวด ด้วยเป็น “บริโภคเจดีย์”ที่เนื่องโดยตรงในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้เสด็จอุบัติขึ้นมาแล้วถึง 4 พระองค์คือ
-
1. พระกกุสันธพุทธเจ้า
-
2. พระโกนาคมนพุทธเจ้า
-
3. พระกัสสปพุทธเจ้า
-
4. พระโคตมพุทธเจ้า(พระองค์ปัจจุบัน)
-
-
โดยรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์นี้ ได้ปรากฏเป็นรอยลึกลดหลั่นลงไปในแท่งหินใหญ่บนยอดเขาสูงในเขตป่าดงดิบอันลึกล้ำมาแต่บูรพกาล แม้พระไตรปิฎก ก็ยังได้จดจารึกบันทึกพระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้ไว้ในฐานะ 1 ใน 5 รอยพระพุทธบาทที่สำคัญที่สุดมาเนิ่นนานกว่า 20 ศตวรรษ ในนามรอยพระพุทธบาทแห่ง “โยนกปุระ”
-
หมายเหตุ , รอยพระพุทธบาท 5 แห่งที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ประกอบด้วย
-
1. สุวัณณมาลิก (ลังกา)
-
2. เขาสัจจพันธ์คีรี (สระบุรี ประเทศไทย)
-
3. เขาสุมนกูฏ (ลังกา)
-
4. แม่น้ำนัมมทานที (อินเดียหรือพม่า)
-
5. โยนกปุระ (ดินแดนทางภาคเหนือของไทย) ที่เคยเป็นอาณาจักรล้านนา ที่นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดีทั่วโลกต่าง สืบเสาะแสวงหากันมาเนิ่นนานก็ได้ปรากฏหลักฐานทั้งทางฝ่ายวัตถุและบุคคล ดังเช่น คำบอกเล่าของพระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี ก็ได้เคยเล่าให้ผู้เขียน(เนาว์ นรญาณ) ฟังโดยตรงเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2538-2539 ว่า
-
-
“พระพุทธบาทสี่รอยนี้ เราเคยได้ธุดงค์ไปกราบมาแล้ว...”
-
“สมัยก่อน ตอนที่เรายังธุดงค์อยู่ในเขตภาคเหนือนั้น เราเคยได้ยินเขาเล่าลือกันว่า มีรอยพระพุทธบาทอยู่ที่โยนกนคร(ปุระ) เราก็ธุดงค์ไปหาอยู่ สมัยที่เราไปนั้น เป็นราวพ.ศ. 2490 ถนนหนทางยังไม่มี เราต้องธุดงค์ข้ามเขาไปหลายลูก จึงไปถึง พบเป็น 4 รอยพระบาท...”
-
และที่สำคัญที่สุด ก็คือการที่หลวงพ่ออุตตมะได้กล่าวย้ำอย่างหนักแน่นว่า“พระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้ เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าทรงเหยียบไว้เองจริงๆนะ..!!!!!”
-
และ “พระพุทธบาทสี่รอยนี้ ทางเมืองนอก(พม่า)เขาก็รู้ และเสาะหาอยู่เหมือนกัน คิดกันไปว่าน่าจะอยู่ในเขตพม่า แต่จริงๆแล้ว ก็มาอยู่ที่เมืองไทยเรานี่แหละ....”
°•♤°"พระพุทธบาทสี่รอย°•♤°
(ตอนที่ ๓)
-
นอกจากนี้ หลักฐานในทางวัตถุที่ยืนยันว่า รอยพระพุทธบาทแห่ง “โยนกปุระ” แท้จริงแล้วก็คือ “พระพุทธบาทสี่รอย” ก็คือ แผ่นศิลาจารึก ที่ติดอยู่บนพื้นผนังกำแพงมุขหลังพระวิหาร พระนาคปรก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กทม. อันสถาปนามาแต่รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
-
โดยในศิลาจารึกนั้น ได้บรรยายถึงรอยพระพุทธบาททั้ง 5 แห่ง โดยเฉพาะรอยพระพุทธบาทที่โยนกปุระนั้น ในศิลาจารึกแผ่นนี้ ได้ขยายความระบุถึงที่ประดิษฐานไว้อย่างชัดเจนยิ่งว่า
-
“รอยพระพุทธบาท อันพระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานไว้บนยอดเขา “รังรุ้ง” แดนโยนกประเทศ คือเมืองเชียงใหม่”
-
ยิ่งไปกว่านี้ หลักฐานในทางวัตถุที่สำคัญอย่างยิ่งยวดอีกประการก็คือ
-
“คำให้การของขุนหลวงหาวัด” อันว่าด้วยเรื่องราวต่างๆของกรุงศรีอยุธยา ที่พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่าให้อาลักษณ์บันทึกรับสั่งของเจ้าฟ้าอุทมพร(ขุนหลวงหาวัด)
-
ภายหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 เมื่อปีพ.ศ. 2310 ไว้อย่างละเอียด โดยตอนหนึ่งได้กล่าวถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เสด็จพระราชดำเนินปทรงนมัสการพระพุทธบาทสี่รอย (สมัยโบราณเรียก “พระพุทธบาทรังรุ้ง) ไว้อย่างชัดเจนว่า
-
“....สมัยสมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปรบที่เมืองหาง พระองค์ทรงทราบว่า มีรอยพระพุทธบาทอยู่บนยอดเขา เรียก “เขารังรุ้ง” จึงได้เสด็จขึ้นไปนมัสการ ทรงเปลื้องเครื่องทรง ทั้งสังวาลและภูษา แล้วทรงถวายไว้ในรอยพระบาท และทำสักการบูชาด้วยธง ธูปเทียน ข้าวตอกดอกไม้ มีเครื่องทั้งปวงเป็นอันมาก แล้วจึงทำการพิธีสมโภชอยู่เจ็ดราตรี”
-
ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้เอง “พระพุทธบาทสี่รอย” ที่มีหลายชื่อหลายนาม ไม่ว่าจะเป็น “พระพุทธบาทรังรุ้ง” หรือ “พระพุทธบาทแห่งโยนกปุระ”
-
จึงเป็นรอยพระพุทธบาทรอยแรกที่คนไทยได้เคยค้นพบและกราบนมัสการ สมดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทยได้ทรงรับรองไว้ครั้งหนึ่งว่า
-
“พระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้ เป็นรอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย"
-
ด้วยเหตุนี้ แม้พระเดชพระคุณพระญาณสิทธาจารย์ หรือหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร พระอริยเจ้าผู้ทรงคุณธรรมและญาณสมาบัติชั้นสูง
-
สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ แห่งสำนักถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ก็เคยธุดงค์ไปกราบพระพุทธบาทสี่รอย
-
และนำมาเทศนาบอกเล่ารับรอง ภายหลังจากตรวจการทั้งปวงด้วยญาณวิถีแห่งพระอรหันตเจ้าที่ไม่มีกิเลสาสวะใดมากีดกันปิดกั้นได้ แก่บรรดาศิษยานุศิษย์เป็นหลายครั้ง จนพระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้ เป็นที่รู้จักมักคุ้นและแพร่หลายกันโดยทั่วไปในเวลาต่อมาว่า
-
“ในเขตเชียงใหม่นี้ ยังมีพระบาทสี่รอย อยู่ในเขตอำเภอแม่ริม แต่ว่าลึกเข้าไปในภูเขาหลวงปู่ผู้เทศน์ไปดูมาแล้ว ไปกราบไปไหว้ มันเป็นก้อนหินก้อนใหญ่ เป็นก้อนสี่เหลี่ยมขึ้นไปอยู่ข้างริมแม่น้ำ
-
พระพุทธเจ้ากกุสันโธ ได้มาตรัสรู้ในโลก ท่านก็มาเหยียบรอยพระพุทธบาทไว้ในยอดก้อนหินนั้น ยาวขนาด 12 ศอก...ขนาดนั้น.... พระพุทธเจ้ากกุสันโธก็โปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลาย นำพระสาวก อุบาสก อุบาสิกาไปสู่นิพพาน
-
เมื่อหมดศาสนาพระพุทธเจ้ากกุสันโธแล้ว ศาสนาพระพุทธเจ้าโกนาคมโน ก็มาตรัสมาสอนรื้อขนสัตว์ไปอีก ก่อนนิพพาน ท่านก็มาเหยียบไว้ที่พระบาทแม่ริมนี้ เป็นรอยที่สอง (ขนาด) ลดลงมา คือคนสมัยนั้นก็เรียกว่า มันกำลังทดลง ไม่ได้ใหญ่ขึ้น(ตัวเล็กลง)
-
เมื่อพระพุทธเจ้าโกนาคมโนนิพพานไปพร้อมด้วยสาวกแล้วศาสนธรรมคำสอนท่านหมดไป ก็ มาถึงพระสั มมาสัมพุทธเจ้ากัสสโปมาตรัสรู้ ท่านก็มาเหยียบไว้ ได้สามรอยละ....
-
เมื่อศาสนาพระพุทธเจ้ากัสสโปหมดไปแล้ว มาถึงศาสนาพระพุทธเจ้าของเราในปัจจุบันนี้ ให้ชื่อว่าพระพุทธเจ้าโคตมโคตร พระพุทธเจ้าโคดมมาตรัสรู้ ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ก็มาเหยียบรอยพระบาทไว้ในก้อนหินก้อนเดียวกัน จึงให้ชื่อว่า “พระพุทธบาทสี่รอย”.......
-
คือในโลกนี้แผ่นดินนี้ ยังเหลืออยู่อีกพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ที่เราทุกคนได้ยินได้ฟังกันมาจนชินหูแล้วก็มี ว่ายังมี
-
พระศรีอาริยเมตไตรโยโพธิสัตว์ จะมาตรัสรู้เป็นองค์สุดท้าย เมื่อตรัสรู้แล้ว โปรดเวไนยสัตว์แล้ว ก็มาเหยียบไว้อีก เหยียบทีนี้น่ะดูเหมือนจะใหญ่ คือว่าเหยียบเต็มเลย ก็คล้ายๆกันกับว่า เหยียบปิดเลย ละลายหินก้อนนั้น เพราะว่าเมื่อหมดศาสนาพระศรีอาริย์แล้ว.....ก็ไม่มีศาสดาใดที่จะมาตรัสรู้อีก เรียกว่า แผ่นดินที่เราเกิดนี้ นับว่าเป็นแผ่นดินที่ร่ำรวยที่สุด ....แผ่นดินนี้เรียกว่า “ภัทรกัป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ได้ห้าพระองค์....”
-
หรือแม้แต่ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม พระอริยเจ้าผู้ทรงฤทธิ์อย่างยวดยิ่งแห่งวัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม เมื่อครั้งยังเที่ยวธุดงค์อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้กล่าวรับรองไว้ด้วยเช่นกันว่า
-
“พระพุทธบาทสี่รอยนี้ เป็นสัญลักษณ์แห่งมหาภัทรกัป ที่มีความสำคัญที่สุดในจักรวาล...”
-
ด้วยเหตุดังกล่าวมาทั้งหมดนี้เอง จึงเป็นที่สมมุตยุติสรุปการทั้งปวงได้อย่างสิ้นสงสัยอย่างสิ้นเชิงแล้วว่า อัน “พระพุทธบาทแห่งโยนกปุระ” หรือ “พระพุทธบาทรังรุ้ง” และหรือ “พระพุทธบาทสี่รอย” ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ที่วัดพระพุทธบาทสี่รอย ต.สะลวง อ. แม่ริม จ.เชียงใหม่ดังที่พรรณนามานี้ เป็นรอยพระพุทธบาทที่แท้จริง และมีความสำคัญอย่างที่สุด อย่างที่ไม่เคยปรากฏมีมาก่อนตลอดระยะเวลา 4 อสงไขย 100,000 มหากัปถึงเพียงไหน..???
-
เพราะที่สุด พระคุณเจ้า หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ พระผู้ที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานแห่งยุคก็ยังได้เคยพยากรณ์ไว้ เมื่อครั้งที่หลวงปู่สิมยังเป็นสามเณรอยู่ว่า “เณรสิมนี้ ยังเป็นดอกบัวที่ยังตูมอยู่ ถ้าเบ่งบานเมื่อได้ จะหอมกว่าหมู่” เมื่อได้เล็งญาณพิจารณาการทั้งสิ้นแล้ว จึงได้กล่าวสรุปปิดท้ายไว้ก่อนละสังขารไม่นานว่า
-
“พระบาทสี่รอยนี้ เป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาเหยียบรอยพระบาทไว้เองจริงๆ....”
-
“รอยพระบาทที่จังหวัดสระบุรี เป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าโคดมเพียงพระองค์เดียว แต่ที่พระบาทสี่รอยนั้น เป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าถึง 4 พระองค์ ไหว้พระบาทสี่รอยครั้งหนึ่ง ก็เท่ากับได้ไหว้พระพุทธเจ้ารวดเดียวถึง 4 พระองค์นั่นแหละ....”
°•♤°"พระพุทธบาทสี่รอย°•♤°
(ตอนที่ ๔)
-
หลวงปู่สิม พุทธจาโร ซึ่งเคยเดินขึ้นไปนมัสการมาแล้วเช่นกัน
-
ดังธรรมเทศนาของท่านตอนหนึ่ง
-
(คัดลอกมาจาก หนังสือพุทธาจารานุสรณ์ ที่แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ
-
หลวงปู่สิม พุทธจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว
-
จังหวัดเชียงใหม่ พุทธศักราช ๒๕๓๖)
-
“ในเขตเชียงใหม่นี้ ยังมีพระบาทสี่รอยอยูในเขตอำเภอแม่ริม
-
แต่ว่าลึกเข้าไปในภูเขา หลวงปู่ผู้เทศน์ปูแล้วกราบไหว้
-
มันเป็นก้อนหินก้อนใหญ่ เป็นก้อนสี่เหลี่ยมขึ้นไปอยู่ข้างริมแม่น้ำ
-
พระพุทธเจ้ากกุสันโธได้มาตรัสรู้ในโลก
-
ท่านก็มาเหยียบรอยพระพุทธบาทไว้
-
ในยอดหินก้อนนั้น ยาวขนาด ๑๒ ศอก
-
เมื่อหมดศาสนาพระพุทธเจ้ากกุสันโธแล้ว
-
พระพุทธเจ้าโกนาคมโน ก็มาตรัสรื้อขนสัตว์ไปอีก
-
ก็นิพพานท่านก็มาเหยียบไว้ที่พระบาทแม่ริมนี้ เป็นรอยที่สอง (ขนาดลดลงมา)
-
มาถึงพระสัมสัมพุทธเจ้ากัสสโปมาตรัสรู้
-
ท่านก็มาเหยียบไว้ได้ ๓ รอย
-
แลพระพุทธเจ้าโคดมมาตรัสรู้
-
ก่อนที่ท่านจะนิพพานก็เหยียบรอยพระบาทไว้ในหินก้อนเดียวกัน
-
จึงให้ชื่อว่าพระพุทธบาทสี่รอย
-
ยังมีพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์
-
จะมาตรัสรู้แล้วมาโปรดเวไนยสัตว์ ก็มาเหยียบไว้อีก
-
เรียกว่าแผ่นดินที่เราเกิดนี้ นับว่าเป็นแผ่นดินที่ร่ำรวยที่สุด
-
แผ่นดินนี้เรียกว่า ภัทรกัป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ได้ห้าพระองค์
-
พระพุทธเจ้าองค์ใดมาตรัสสอนก็ตาม
-
ก็สอนให้มนุษย์และเทวดาทั้งหลายบำเพ็ญทาน รักษาศีล ภาวนา
-
ละกิเลส ความโกรธ ความโลภ ความหลง อันเก่านี้แหละ
-
เมื่อใดปฏิบัติภาวนาบารมีเต็มแล้ว ก็รู้แจ้งพระนิพพาน
-
เมื่อรูปนามแตกดับแล้วไปสู่พระนิพพาน
-
ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในโลกอันแสนทุรกันดารนี้อีกต่อไป”
°♤°"พระพุทธบาทสี่รอย°♤°
(ตอนที่ ๕)
ตำนานพระพุทธบาทสี่รอย (ฉบับล้านนา)
พระครูพุทธบทเจติยารักษ์ (พระครูบาพรชัย ปิยะวัณโณ)
วัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
( ความเป็นมาของมหาศิลาเปรต ตอนที่ ๑ )
-
ย้อนไปในอดีตกาลอันไกลโพ้น นับได้ ๙๒ กัป ที่ล่วงมาแล้ว ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง สมัยนั้นนั่นแล ทรงพระนามว่า “พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า” เสด็จอุบัติขึ้นในโลก เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ ให้ล่วงพ้นวัฏฏสงสาร เฉกเช่นเดียวกับพระสมณโคดมพุทธเจ้าของเราในปัจจุบันสมัยนี้
-
ในครั้งนั้นบังเกิดมีพระสาวกองค์หนึ่งในพระวิปัสสีพุทธเจ้า มีฐานะเป็นพระสังฆนายก ปกครองพระภิกษุเถรานุเถระเป็นอันมาก แต่พระสังฆนายกองค์นี้ กลับแสวงหาปัจจัยทั้งสี่ อันได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย มากเกินสมควร ได้มีคำสั่งออกไปทั่วสังฆมณฑลว่า
-
“วัดของเรานี้ไม่เหมือนวัดอื่นๆ ด้วยเป็นที่ชุมนุมของพระมหาเถระเจ้าทั้งหลายอยู่เป็นเนืองนิตย์ ฉะนั้นขอให้พระภิกษุทั้งหลาย จงนำเอาปัจจัยสี่อันเป็นของสงฆ์ทั้งหลาย
-
อันได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย รวมทั้งแก้วแหวนเงินทองทั้งปวงมาให้แก่วัดของเราเพื่อว่าเราจะได้นำมาถวายทาน แก่พระมหาเถระเจ้าทั้งหลายต่อไป”
-
เมื่อพระภิกษุทั้งหลายได้รับคำสั่งของพระสังฆนายกดังนี้แล้ว ต่างก็ล้วนลำบากใจ แต่ไม่กล้าทักท้วงคัดค้าน ด้วยเกรงจะมีความผิด คงได้แต่จำใจนำของมามอบให้ที่วัดของพระสังฆนายก จนเต็มโบสถ์เต็มวิหารไปหมด
-
ท้ายที่สุดเมื่อพระสังฆนายกองค์นั้นได้มรณภาพลงไปแล้ว ก็ได้ตกนรก จมลงไปหมกไหม้อยู่ในอบายภูมิทั้ง ๔ ตลอดกาลนาน ด้วยผลกรรมที่ได้เบียดเบียนพระสงฆ์ทั้งหลายให้ต้องได้รับความลำบาก
-
เมื่อชดใช้กรรมในนรกแล้ว อดีตพระสังฆนายกองค์นั้น ก็ได้เกิดมาเป็นเปรต มีนามว่า “มหาศิลาลวงใหญ่” (เปรตหิน) พูดวาจาใดใดไม่ได้ ด้วยสรีระกลายเป็นหิน
-
พระพุทธเจ้ากกุสันโธ เสด็จมาโปรดมหาศิลาเปรต และทรงเมตตาประทับรอยพระพุทธบาทไว้ เหนือหินมหาศิลาเปรตเป็นรอยแรก โดยทรงเมตตาประทานให้เอง
-
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกาลเวลาได้ล่วงเลยมาถึง ๙๒ กัป ลุถึงสมัย “พระพุทธเจ้ากกุสันโธ” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๑ ในมหาภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ได้เสด็จมาโปรดมหาศิลาเปรตแล้ว จึงทรงประทับรอยพระบาทไว้เหนือก้อนหินมหาศิลาเปรตนั้นเป็นรอยแรก
-
และทรงมีพระมหากรุณาตรัสสอนมหาศิลาเปรต และให้ภาวนาบริกรรมคาถาว่า “อัปปะกิจโจ อัปปะกิจโจ” ซึ่งหมายถึง เป็ยนักบวชควรทำตนเป็นผู้มีภาระน้อย เพราการมีภาระมากไม่ใช่ทางบรรลุมรรคผลนิพพาน จะกลายมาเป็นมารมาผูกมัดจิตใจ ทำให้ตนต้องได้ตกอยู่ในอบายภูมิ
-
พระพุทธเจ้าโกนาคมโน เสด็จมาโปรดมหาศิลาเปรต และทรงเมตตาประทับรอยพระพุทธบาทเป็นรอยที่ ๒ โดยทรงประทานให้เอง ซ้อนรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันโธ
-
ภายหลังที่พระพุทธเจ้ากกุสันโธได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ก็มาถึงสมัยของ พระพุทธเจ้าโกนาคมโน พระองค์ก็ได้เสด็จมาที่มหาศิลาเปรต ให้ภาวนาบริกรรมคาถาว่า “สัลละหุกะวุตติ” ไปตลอด จะได้หลุดพ้นจากความเป็นเปรตในภายภาคหน้า
-
จากนั้นพระพุทธเจ้าโกนาคมโนก็ได้ประทับรอยพระบาทซ้อนไว้ ในรอยพระบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันโธเป็นรอยที่ ๒ (ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ารอยที่ ๑)
-
พระพุทธเจ้ากัสสโป เสด็จมาโปรดมหาศิลาเปรต และทรงเมตตาประทับรอยพระพุทธบาท เป็นรอยที่ ๓ โดยประทานให้เอง ซ้อนรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง ๒ พระองค์ ในมหาภัทรกัปนี้
-
ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าโกนาคมโน ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วก็มาถึงสมัย พระพุทธเจ้ากัสสโป ซึ่งพระองค์ก็ได้เสด็จมาโปรดมหาศิลาเปรต ด้วยเหตุผล ๒ ประการ คือ
-
เพื่อทรงชี้แนวทางตรงไปสู่พระนิพานหนึ่ง และเพื่อให้มหาศิลาเปรตนั้น พ้นจากปิติวิสัย (ภูมิแห่งเปรต) อีกประการหนึ่ง
-
พระพุทธเจ้ากัสสโป จึงเสด็จมาโปรดมหาศิลาเปรตเป็นพระองค์ที่ ๓ และได้ทรงมีระพุทธดำรัสตรัสชี้แนะให้มหาศิลาเปรตนั้น ภาวนาบริกรรมคาถาว่า “อัปปะคัพโภ อัปปะคัพโภ” ด้วยทรงมีพระมหากรุณาให้พ้นจากความเป็นหิน
-
แล้วจึงได้ทรงประทับรอยพระบาท ซ้อนไว้ในรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์ ปรากฏเป็นรอยที่ ๓ ขึ้นมา (ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ารอยพระพุทธบาททั้ง ๒ รอย)
°♤°"พระพุทธบาทสี่รอย°♤°
(ตอนที่ ๕)
ตำนานพระพุทธบาทสี่รอย (ฉบับล้านนา)
พระครูพุทธบทเจติยารักษ์ (พระครูบาพรชัย ปิยะวัณโณ)
วัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
( ความเป็นมาของมหาศิลาเปรต ตอนที่ จบ )
-
พระพุทธเจ้าโคตโม (พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน) เสด็จมาโปรดมหาศิลาเปรต ณ เวภารบรรพต (วัดพระพุทธบาทสี่รอย ในปัจจุบันนี้) และทรงเมตตาประทับรอยพระพุทธบาทเป็นรอยที่ ๔ โดยประทานให้เอง ซ้อนรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ ในมหาภัทรกัปนี้
-
ภายหลังจากที่พระพุทธเจ้ากัสสโป ได้เสด็จดับขันธปรินิพานไปแล้ว ก็มาถึงพุทธสมัยแห่งพระศาสนาของ พระพุทธเจ้าโคตโม (พระสมณโคดม) ได้เสด็จจาริกประกาศธรรมโปรดเวไนยสัตว์ ไปตามสถานที่ต่างๆ พร้อมด้วยพุทธสาวก ๕๐๐ องค์ อันมี พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และพระอานนท์ เป็นต้น จนกระทั่งเสด็จมายัง ปัจจันตยประเทศ (ประเทศไทยในปัจจุบัน)
-
ถึงเทือกเขาตอนเหนือของประเทศชื่อ เวภารบรรพต (สถานที่แห่งนี้) และได้แวะเสวยจังหันอยู่บนเขาเวภารบรรพตแห่งนี้ เมื่อพระพุทธองค์เสวยจังหันสร็จ ขณะประทับอยู่ที่นั่น ก็ได้ทรงทราบด้วยพระญาณสมบัติว่า ในเทือกเขาแห่งนี้ ได้มีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ที่มาตรัสรู้ก่อนในภัทรกัปนี้ประทับอยุ่บนก้อนหินก้อนใหญ่
-
พระองค์ก็ทรงเล็งดูรอยพระพุทธบาทแห่งพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ คือ พระพุทธเจ้ากกุสันโธ พระพุทธเจ้าโกคมโน พระพุทธเจ้ากัสสโป ในวาระนั้น พระพุทธเจ้าโคตโม ได้มีพระพุทธดำรัสกับพระอานนท์ว่า
-
“ดูกร อานนท์ ก้อนศิลาอันงามวิเศษ ที่เป็นเหตุแห่งการโปรดสัตว์ทั้งหลายยังปรากฏมีอยู่ฤา”
-
พระอานนท์ พุทธอุปัฏฐาก จึงกราบทูลว่า “ภันเต ภะคะวา ก้อนหินนี้มีรอยพระพุทธบาทใหญ่ ๓ รอย งดงามยิ่งนัก เหมือนรอยพระพุทธบาทของพระศาสดาพระพุทธเจ้าข้า”
-
จากนั้น พระพุทธเจ้าโคตโมจึงได้ตรัสถึงอดีตกาลที่ได้ผ่านมาแล้วแต่ปางบรรพ์ แก่พระอานนท์และพุทธสาวกว่า
-
“ดูกรอานนท์ ก้อนศิลานี้มิใช่ศิลาแท้จริงดอก แต่เป็นก้อนอสุราที่กลับกลายเป็นก้อนศิลา (เป็นศิลาเปรต) ศิลานี้เคยเป็นพุทธสาวกในพระพุทธเจ้า วิปัสสี สมัยนั้นท่านเป็นพระสังฆนายก ถืออำนาจบาตรใหญ่บังคับเอาของของคนอื่นมาเป็นของตน
-
ตนเองเป็นพระภิกษุ แต่มักมาก ถือว่าตนเองฉลาด คิดว่าตนเองได้ของมาโดยบริสุทธิ์ โดยมิได้คำนึงถึงความผิดถูกตามพระธรรมวินัย ถือว่าตนเองเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า และเป็นใหญ่ เอาของของสงฆ์มาใช้ตามอำเภอใจ จึงทำให้เป็นศิลาเปรตอยู่ในบัดนี้
-
พระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ที่ล่วงมาแล้วในอดีตกาลได้ทรงประทับรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นี้ ทุกพระองค์ และแม้ พระศรีอริยเมตไตรย ก็จะเสด็จมาประทับรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นี้ และจักประทับรอยพระพุทธบาทสี่รอยนี้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว (คือ ประทับลบทั้งสี่รอยให้เหลือรอยเดียว)”
-
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสแก่สาวกทั้งหลายเสร็จแล้ว พระองค์ก็เสด็จประทับพระบาทซ้อนรอยพระบาท ของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ แล้วก็ทรงอธิษฐานว่า
-
ในเมื่อกูตถาคตนิพพานไปแล้ว เทวดาทั้งหลายก็จักนำเอาพระธาตุของกูตถาคต มาบรรจุไว้ที่รอยพระพุทธบาทนี้
-
ในเมื่อกูตถาคตนิพพานไปแล้ว ๒,๐๐๐ ปี พระพุทธบาทสี่รอยนี้ ก็จักปรากฏแก่ปวงมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย เพื่อมนุษย์และเทวดาทั้งหลายจักได้มากราบไหว้และสักการะบูชา เมื่อทรงอธิษฐานและทำนายไว้ดังนี้แล้ว จึงมีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ จึงกำเนิดเป็นพระพุทธบาทสี่รอย
-
เมื่อพระพุทธองค์ทรงประทับรอยพระพุทธบาทแล้ว ก็เสด็จไปเขตวันอาราม อันมีในเมืองสาวัตถีนั้นแล เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว เทวดาทั้งหลายก็นำเอาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ มาบรรจุไว้ที่พระพุทธบาทสี่รอย
-
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสแก่สาวกทั้งหลายเสร็จแล้ว พระองค์ก็เสด็จประทับพระบาทซ้อนรอยพระบาท ของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ แล้วก็ทรงอธิษฐานว่า
-
ในเมื่อกูตถาคตนิพพานไปแล้ว เทวดาทั้งหลายก็จักนำเอาพระธาตุของกูตถาคต มาบรรจุไว้ที่รอยพระพุทธบาท
-
ในเมื่อกูตถาคตนิพพานไปแล้ว ๒,๐๐๐ ปี พระพุทธบาทสี่รอยนี้ ก็จักปรากฏแก่ปวงมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย เพื่อมนุษย์และเทวดาทั้งหลายจักได้มากราบไหว้และสักการะบูชา เมื่อทรงอธิษฐานและทำนายไว้ดังนี้แล้ว จึงมีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ จึงกำเนิดเป็นพระพุทธบาทสี่รอย
-
เมื่อพระพุทธองค์ทรงประทับรอยพระพุทธบาทแล้ว ก็เสด็จไปเขตวันอาราม อันมีในเมืองสาวัตถีนั้นแล เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว เทวดาทั้งหลายก็นำเอาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ มาบรรจุไว้ที่พระพุทธบาทสี่รอย
-
และเมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานล่วงมาแล้ว ๒,๐๐๐ วัสสา (ปี) เทวดาทั้งหลายต้องการให้พระพุทธบาทสี่รอยปรากฏแก่คนทั้งหลาย ตามที่พระองค์ทรงอธิษฐานไว้
-
ก็จึงเนรมิตเป็นรุ้ง (เหยี่ยว) ตัวใหญ่ บินลงมาจาก เวภารบรรพต อันเป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธบาทสี่รอยในปัจจุบันนี้ ไปจับลูกไก่ของชาวบ้าน (พรานป่า) ที่อาศัยอยู่เชิงเขา เวภารบรรพต แล้วบินกลับขึ้นไปสู่ยอดเขา
-
พรานป่าโกรธมากจึงติดตามขึ้นไป คิดว่าจะยิงเสียให้ตาย มันก็ติดตามไปค้นหาดู แต่ก็ไม่เห็นรุ้งตัวนั้นอีก เห็นแต่รอยพระพุทธบาทสี่รอยอันอยู่บนพื้นใต้ต้นไม้และเถาวัลย์
-
พรานป่าผู้นั้นจึงทำการสักการะบูชา เสร็จแล้วก็ลงจากภูเขา พอมาถึงหมู่บ้านก็บอกเล่าแก่ชาวบ้านทั้งหลาย คนทั้งหลายที่ทราบก็พากันไปสักการะบูชา และเรียกขานพระพุทธบาทนั้นว่า “พระบาทรังรุ้ง (รังเหยี่ยว)”
.
°♤° รอยพระพุทธบาทที่ ๕.°♤°
รอยพระพุทธบาท แม่น้ำนัมมทานที ตอนที่ ๑
-
มีเรื่องเล่าไว้ใน "ปุณโณวาทสูตร" ว่า ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำ"นัมมทานที" อันเป็นที่อยู่ของพระยานาค และพวกพระยานาคได้อาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จลงไปยังเมืองนาคใต้บาดาล และทำการถวายสักการะบูชาพระพุทธเจ้า ก่อนจะเสด็จกลับพระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมให้พระยานาคฟัง พอจบธรรมเทศนาแล้ว พระยานาคได้ทูลขอให้พระพุทธเจ้าประทับรอยพระบาทเอาไว้ ณ ริมฝังแม่น้ำ "นัมมทานที" เพื่อให้พวกนาค, คนธรรม์, ครุฑ, ตลอดจนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายได้พากันสักการะบูชาสืบมา จนทุกวันนี้
☆☆☆มีคำบูชาว่า ☆☆☆
-
°♤° " อะหัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมากายะ นะทิยา ปุเลนิ ปาทะวะอัญชัง อภิปูเชมิ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะอัญชัง ปูชา มัยหัง ทีฆะรัตตัง หิ ตายะ สุขายะ สังวัตคะตุ " แปลว่า "ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระบาทของพระมุนีเจ้า อันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทรายแห่ง แม่น้ำนัมมทานทีโพ้นด้วยประทีปนี้ ขอให้การบูชารอยพระบาทสมเด็จพระมุนีเจ้า ด้วยประทีป ในครั้งนี้จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้า ทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ ฯ.°♤°
-
ความเชื่อที่ว่า "รอยพระพุทธบาทที่ริ่มฝั่งแม่น้ำนัมมทานที อยู่ที่เกาะแก้วพิศดาร " นั้นข้อความในวงเล็บนั้น ผู้เขียนลงเอาไว้เพื่อความเข้าใจตามที่ได้ค้นคว้ามา ซึ่งจะหาอ่านรายละเอียดได้จากหนังสือ “ธัมมวิโมกข์” ฉบับ ที่ ๑๕๖, ๑๖๓, ๑๖๔ (ปี ๒๕๓๗)
-
ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะรอยพระพุทธบาทที่ ๕ “นัมทานที” ซึ่งได้ยืนยันไว้เป็นหลักฐานจากหนังสือ “พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์”อ่านคำจารึกโดย พระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต) วัดโสมนัสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ มีใจความตามสำนวนสมัยเมื่อสอง พันห้าร้อยกว่าปีมานี้เองว่า...
-
“บุญมุนี อยู่ถ้ำฤษี ผู้นำพุทธ สู่เกาะ คนชาวน้ำ หมู่คนน้ำ เกาะแก้ว เข้ากราบไหว้ ห้อมล้อม พุทธสอนมาก หมู่คนขอรอยตีนไว้ ชายทเล พุทธเหยียบดิน ทำให้ใหญ่กว่า ๓ เท่า เมื่อวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนอ้าย พุทธพัสสา ๒๒...”
ถ้าใช้สำนวนในปัจจุบันอ่านได้ดังนี้
-
“พระปุณณะ อยู่ถ้ำฤษี (เขางู จ.ราชบุรี) ผู้นำพระพุทธเจ้า สู่เกาะคนชาวน้ำ (ชาวเล) หมู่คนน้ำ เกาะแก้ว เข้ากราบไหว้ ห้อมล้อม พระพุทธเจ้าสอนมาก หมู่คนขอรอยพระบาท ไว้ที่ชายทะเล...”
ท่านเจ้าคุณพระราชกวี ได้วินิจฉัยเรื่องนี้ ไว้อีกว่า
-
“เท่าที่ปรากฏรอยตีนพุทธนี้ ย่อมทรงแสดงให้เห็นหลักฐาน พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระองค์ว่า ได้เสด็จตั้งแต่ใต้สุดถึงเหนือสุดของ ดินแดน “สุวัณณภูมิ” จึงเสด็จเพื่อทรงเหยียบ แสดงรอยพระบาทเป็นประจักษ์พยานไว้ สัจจพันธ์คีรี (จังหวัดสระบุรี) และที่ เกาะแก้ว(เกาะแก้วพิสดาร?) หรือ “นิมมทานที” (ไทยว่า..นัมมะทา) ซึ่งเป็นที่เลื่องลือมานาน กระทั่งถึงต่างประเทศคือลังกาและชมพูทวีป เพราะคำใน “อรรถกถา” ยืนยันอยู่
-
ประมาณต้นปีพ.ศ. 2498 พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช ได้ไปประชุมชาวบ้านทีเกาะแก้วพิสดาร(ใกล้กับหาดราไวย์ นั่งเรือข้ามไปประมาณ 15 นาที) เพื่อสร้างรอยพระบาทจำลองไว้เพื่อรักษาศรัทธาคนที่ไปถึงแล้ว แต่ไม่มีโอกาสได้เห็นรอยพระบาทจริง พ่อท่านคล้ายท่านบอกว่า “รอยพระบาทที่นี่เป็นของจริง” (ชาวพุทธเชื่อกันว่าของจริงมีเพียง 5 ที่เท่านั้น ที่นี่เป็นหนึ่งในนั้น)หลวงพ่อฟัก วัดเขาวงพระจันทร์ จ.ลพบุรี ก็ได้ยืนยันว่า รอยพระบาทที่พระพุทธเจ้าประทับไว้ ณ ริมฝั่งน้ำ “นัมทา” นั้น อยู่ที่ “เกาะแก้ว” จ.ภูเก็ต นี่เอง และพ่อท่านคล้ายพร้อมทั้งพุทธศาสนิกชนได้ร่วมกันสร้างมณฑปครอบเอาไว้ (ปัจจุบันได้พังทลายลง เพราะคลื่นซัดและลมพัด) หลายๆท่านเชื่อว่าที่เกาะแก้วพิสดารนี้ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ท่านก็เคยมาปฏิบัติธรรมและสักการรอยพระพุทธบาทนี้เช่นกันสถานที่ ๆ ที่จะทำการก่อสร้างนั้นมีก้อนหินใหญ่ โดยรอบ ทั้ง 3 ทิศ นายช่างผู้ไปทำการก่อสร้างได้ทำการเจาะหิน ณ ที่ดังกล่าว แต่เจาไม่เข้า เพราะเป็นหินกากเพชรแข็งมาก จึงได้มานมัสการหลวงพ่อว่าทำไม่ได้ หลวงพ่อคล้ายจึงได้ ไป ณ ที่ก้อนหินนั้น แล้วเอาน้ำหมากจากปากเขียนวงกลามที่ก้อนหินดังกล่าว แล้วให้นายช่างเจาะใหม่อีกครั้ง หลังจากนั้นปรากฎว่าเจาะได้โดยไม่ยากจนสำเร็จ ทำให้นายช่างผู้เจาะหินและผู้คนที่อยู่ ณ ที่นั้นเป็นมหัศจรรย์ไปตาม ๆกัน
-
นับว่าเป็นบุญของชาวภาคใต้ ที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปให้ถึงสระบุรี พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทที่นี่ ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือนอ้าย พุทธพัสสา 22และในวันขึ้น 15 ค่ำ จึงเสด็จกลับไปประทับรอยพระบาทที่สระบุรี เพราะฉะนั้น รอยพระบาทที่ปักษ์ใต้จึงเป็นรอยแรกในประเทศไทย ทั้งจารึกไว้ในพระไตรปิฏก (มัชฌิมนิกายอุปริปัณณาสก์) แต่ยังไม่มีใครเปิดเผยเป็นทางการมาก่อน ยังคงเป็นเรื่องลี้ลับ เพราะส่วนใหญ่เข้าใจว่า อาจจะอยู่ที่ลังกาหรืออินเดีย รอยพระบาท 2 แห่งนี้ เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ควรจะเป็นสถานที่ใกล้เคียงกัน เพราะตามเรื่องที่ปรากฏในพระสูตรนั้น มีโดยย่อว่า
-
“ในเช้าวันหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมกับพระอัครสาวกและพระสาวก 499 รูป ได้เสด็จออกมาจากพระเชตวัน (อินเดีย) ขึ้นสู่เรือนยอดอัน วิสสุกรรมเทพบุตร เนรมิตถวาย 500 หลัง (อีกหลังหนึ่งว่างเปล่า) โดยทางอากาศ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 300 โยชน์ (4,800 ก.ม.) เพื่อทรงโปรด ท่านสัจจพันธฤาษี (สระบุรี) ให้เป็นอรหันต์แล้วจึงเสด็จมาบิณฑบาตพร้อมกับพระภิกษุ 500 รูป ที่บ้านน้องชายของ พระปุณณะ ซึ่งเป็นชาวเมืองสุนาปรันตะ (เพชรบุรี) เมื่อพระองค์ประทับอยู่ที่นั้นประมาณ 2-3 วัน จึงได้เสด็จโปรด นิมมทานาคราช พร้อมกับประทับรอยพระบาทไว้ ณ ฝั่งแม่น้ำ นิมมทา (คำว่า “นาค”ในอุทานวรรคตรัสว่าเป็น “คนทะเล”)
-
ตาม อรรถกถาปุณโณวาทสูตร กล่าวต่อไปว่า รอยพระบาทนั้น เมื่อคลื่นซัดมาก็ถูกปิดเมื่อคลื่นเลยไปแล้วก็ถูกเปิด กลายเป็นรอยพระบาทที่ถึงสักการะอย่างใหญ่ (แต่ที่น่าแปลกก็คือว่าน้ำตรงบริเวณด้านรอยพระบาทนั้น จะเป็นน้ำวน ไม่มีใครกล้าเข้าไปหาปลา คงจะเป็น..วังบาดาล)
-
สำหรับประวัติความเป็นมาเรื่อง รอย พระพุทธบาทที่ ๕ นี้มีความสำคัญมาก เพราะ นักค้นคว้าประวัติศาสตร์ ต่างก็ค้นคว้าหากัน มานานแล้ว โดยเฉพาะประเทศต่างๆ เช่น พม่า ลังกา ต่างก็อ้างว่าอยู่ในประเทศของตน บาง คนก็เข้าใจว่าอยู่ในประเทศอินเดียก็มี
-
ต่อมาเมื่อได้พบหลักฐานจาก “กเบื้อง จาร” ซึ่งฝังอยู่ใต้ดินบริเวณ บ้านคูบัว จังหวัด ราชบุรี ทำให้เราได้รู้ความจริงว่า รอยพระพุทธบาทที่ ๕ หรือตามประวัติที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า ประทานรอยพระพุทธบาทนี้ไว้ให้ พญานาคราช ทั้งหลายได้สักการบูชานั้น ไม่ได้อยู่ที่ประเทศไหนตามที่เข้าใจกัน ความจริงอยู่ในประเทศไทยนี่เอง
-
อีกทั้งความเชื่อถือของชาวใต้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ต่างก็มีความเคารพเลื่อมใส พากัน ไปกราบไหว้บูชาอยู่เสมอมา ทั้งได้ประสบพบ กับความ “พิสดาร” อีกนานัปการ คนที่ไม่มี ความเคารพต่างก็ประสบภัยพิบัติกันไปแล้ว หลายราย โดยเฉพาะวัตถุสิ่งของที่นั่น แม้แต่ ทรายเม็ดเดียวยังเอากลับมาไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราพอจะสรุปกันเพียงผิวเผินได้ว่า ถ้าไม่ใช่ของ จริงแล้วไซร้ คงจะไม่มีอะไรเป็นที่อัศจรรย์อย่าง แน่นอน
ภาพรอยพระพุทธบาทข้างขวา
ณ.เกาะแก้วพิศดาร วัดเกาะแก้วพิศดาร จ.ภูเก็ต
พบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2545 ขนาด 1.5เท่าของปกติ
-
เล่าสู่กันฟัง เรื่อง”พบรอยพระพุทธบาทใหม่ ณ.วัดเกาะแก้วพิศดาร” รอยที่2 แห่งการค้นพบ โดยคนเมืองบัว
-
ถาม = คนเมืองบัว ตอบ= สังฆนิมิต หลวงพ่อฤาษีฯ
-
ถาม- หากไปปฏิบัติธรรมนอกสถานที่ ที่เกาะแก้วพิศดาร จ.ภูเก็ต ในครั้งนี้ไม่ทราบว่า จะต้องใช้กรรมฐานกองใด ในการสงเคราะห์ท่านที่มาปฏิบัติธรรม ณ. พังงา ขอรับ
-
ตอบ- เรื่องนั้นไม่สำคัญหรอก ก็คงเหมือนทุกครั้ง คือดูเจโตปริยญาณก่อน แล้วขอบารมีองค์สมเด็จท่าน เรื่องที่สำคัญ พ่ออยากให้เธอไปดูรอยพระบาทใหม่ที่เกาะแก้วนั้น เป็นขนาด 1 เท่าครึ่ง ของรอยเท้ามนุษยธรรมดา
-
ถาม- จริงหรือครับหลวงพ่อ ก็ที่เขาไปกราบกันทุกวันนี้ที่ริมทะเลนะ
-
ตอบ- รอยใหม่นั้นท่านทรงอภิญญาใหญ่ ทำไว้ใหแก่ชาวนาค(คนไทยเชื้อสายหนึ่ง)
-
ถาม –แล้วรอยใหม่ที่ท่านฝากไว้นี้แหละครับ
-
ตอบ-เป็นรอยทรงอภิญญาใหญ่ เท่าพระบาทท่านปกติไง ปกติรอยนี้จะอยู่เนินเขาสูงสุด ของทางเดินที่จะผ่านไป แต่เนื่องจากพื้นดินถูกน้ำฝนกัดเซาะ ดินพังทะลายไป หินก้อนนั้นจึงเคลื่อนจากที่เดิมมาทั้งกลุ่มหิน
-
ถาม- แล้วจะมั่นใจได้อย่างไรครับ
-
ตอบ- ให้ดูรอยธรรมจักร เหมือนกงจักรล้อเกวียน
-
ถาม- กลุ่มหินที่ว่า มีมากไหมครับ
-
ตอบ – 3 ก้อน และก่อนที่อยู่หน้าสุด ทางขวามือของทางเดินก้อนนั้นแหละมีรอยพระบาท ถ้ามีโอกาสให้ชาวคณะปฏิบัติธรรมศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ จังหวัดพังงา เขาปิดรอยพระบาท เป็นกลุ่มแรก
-
ถาม- ถ้าอย่างนั้นหมายความว่า หลังจากที่พระพุทธองค์ปรินิพพานแล้วรอนนี้ ไม่เคยมีใครได้มากราบเลยซิขอรับ
-
ตอบ- ถูกต้องแล้ว รอยพระพุทธบาทใหม่ ที่พ่อจะพาลูกได้พบ จะเป็นรอยที่ไม่มีใครหลังพุทธกาลแล้วได้มกราบไหว้ หรือขาดการดูแลรักษาอย่างน้อย 500ปีขึ้นไป
ถาม- ขอกราบขอบพระคุณขอรับ
หลังจากนั้นจึงได้ถอนสมาธิ
-
เมื่อถึงวันที่ 20มีนาคม 2545 เวลานัดหมาย เราจึงได้พร้อมกันที่หาด ราไวท์ จ.ภูเก็ต เป็นเวลาบ่าย 2โมงเศษเลย ได้ออกเดินทางข้ามฝั่งไปบนเกาะ วัดนี้ดูสงัดร่มเย็น เราได้กราบท่านเจ้าอาวาส คือหลวงพ่อเสือ และได้ถามท่านว่ามีพระลูกวัดกี่องค์ ท่านบอกว่าอยู่ได้องค์หนึ่งชื่อ ท่านอานนท์ นอกนั้นอยู่ไม่ได้ เพราะทุกคนกลัวความโดดเดี่ยวที่เกาะ
-
หลังจากนั้นเราได้เดินทางไปที่เจดีย์เกาะแก้ว ได้ปฏิบัติธรรม มโนมยิทธิ (ท่องเที่ยวเมืองนาค) จนถึง 01.30 น. จากนั้นแยกย้ายไปที่พักของตน
-
วันที่21 มีนาคม 2545 หลังจากเสร็จกิจส่วนตัวแล้วพวกเราจึงได้เดินทางจากศาลาที่พักไป นมัสการรอยพระบาทเก่า และค้นหารอยพระบาทใหม่
-
นิมิตหลวงพ่อ ในระหว่างทางขึ้นเนินเขานั้น หลวงพ่อนำไประยะห่าง 2เมตร พอใกล้จุดสูงสุดของลูกเนิน ท่านได้ลอยเฉียงออกจากทางเดิน อย่างรวดเร็วไปทางขวามือในกลุ่มต้นไม้ใหญ่ แล้วท่านก็หยุดลง ผมตามไปถึงพอดี แล้วท่านก็ชี้มือขวาท่านไปยังก้อนหินนั้น แล้วกล่าวว่า “ ก้อนนี่แหละลูกอยู่ข้างบน ลูกต้องปีนเถาวัลย์ ขึ้นไปนะ (แล้วภาพนิมิตก็หายไป) เมื่อผมปีนขึ้นไปเท้ายังไม่ทันถึงพื้นให้มั่นคง ก็เห็นรอยพระบาทนั้นทันที โอ……..! เด่นชัดมาก ขนาดอยู่ห่างประมาณ 1.5 เมตร จึงเรียกคณะที่ไปด้วยให้ขึ้นมาดูและกราบนมัสการปิดทอง เป็นกลุ่มแรก หน้าที่ของคณะคนเมืองบัวมีเท่านี้ ส่วนการที่จะสถาปนาให้เป็นทางการนั้นคงเป็นหน้าที่ของหลวงพ่อเสือ และคณะปฏิบัติธรรมชาว ภูเก็ต ที่จะต้องดูแลต่อไปครับ
-
*******คนเมืองบัว***********
-
วันทามิ พุทธัง ภะวะปาระติณณัง ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพุทธเจ้า ผู้ข้ามพ้นฝั่งแห่งภพ>>
-
ติโลกะเกตุง ติภะเวกะนาถัง ผู้เป็นธงชัยของไตรโลก ผู้เป็นนาถะอันเอกของไตรภพ>>
-
โย โลกะเสฏโฐ สะกะลัง กิเลสัง เฉตะวานะ โพเสิ ชะนัง อะนันตัง ช่วยปลุกชนหาประมาณมิได้ ให้ตื่น>>
-
ยัง นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน จะ ตีเร รอยพระบาทใดอันพระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงไว้ในหาดทราย แถบฝั่งแม่น้ำนัมมทา>>
-
ยัง สัจจัพันธะคิริเก สุมะนาจะลัคเค รอยพระบาทใดอันพระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงไว้เหนือเขาสัจจพันธ์แลเหนือยอดเขาสุมนา>>
-
ยัง ตัตถะ โยนะกะปุเร มุนิโน จะ ปาทัง ตัง ปาทะลัญชะนะมะหัง สิระสา นะมามิ>>
-
รอยพระบาทอันใด พระพุทธองค์ได้แสดงไว้เหนือเมืองโยนก ข้าพเจ้าขอนมัสการพระบาท และรอยพระบาทนั้น ๆ ของพระมุนีด้วยเศียรเกล้า>>
-
สุวัณณะมาลิเก สุวัณณะปัพพะเต สุมะนะกูเฏ โยนะกะปุเร นัมมัทายะ นะทิยา ปัญจะปาทะวะรัง ฐานัง อะหัง วันทามิ ทูระโต
-
ข้าพเจ้าขอนมัสการสถานที่มีรอยพระบาทอันประเสริฐห้าสถาน แต่ที่ไกล คือ ที่เขาสุวรรณมาลิเก ที่เขาสุบรรพต ที่ยอดเขาสุมนกูฏ ที่โยนกบุรี ที่แม่น้ำชื่อนัมมทา>>
-
อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง นะมัสสะมาดน ระตะนัตตะยัง ยัง ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย
-
ข้าพเจ้านมัสการอยู่ซึ่งพระรัตนตรัยใด อันบุคคลควรไหว้โดยส่วนยิ่งอย่างนี้ได้แล้วซึ่งกองบุญอันไพบูรณ์ ขออานุภาพพระรัตนตรัยนั้น จงขจัดอันตรายเสียเถิด>>
-
อามันตะยามิ โว ภิกขะเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือนท่านทั้งหลาย>>
-
ปะฏิเวทะยามิ โว ภิกขะเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายทราบไว้ว่า>>
-
ขะยะวะยะธัมมา สังขารา สังขารทั้งหลายมีอันสิ้นไปเป็นธรรมดา>>
-
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถาติ ขอท่านทั้งหลาย จงยังประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิดด้วยประการฉะนี้ แล